ผลการสำรวจเรื่องแนวโน้มการเลือกศึกษาต่อและทำงานของคนไทย
    To news list

    ผลการสำรวจเรื่องแนวโน้มการเลือกศึกษาต่อและทำงานของคนไทย

    ผลการสำรวจเรื่องแนวโน้มการเลือกศึกษาต่อและทำงานของคนไทย

    ในช่วงปลายปี 2020 บริษัทจัดหางาน ANCOR Thailand ซึ่งเป็นบริษัททางด้าน Recruitment และ Outsourcing ระดับโลก ได้ทำการศึกษาและสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่นและวัยทำงานในประเทศไทยอายุตั้งแต่ 18 ถึง 55 ปี จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวนทั้งสินกว่า 1,000 คน พบว่าแนวโน้มการเลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพนั้นยังมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะการณ์ที่ตลาดแรงงานมีการแข่งขันที่สูงขึ้น และเงื่อนไขการจ้างงานถูกกำหนดโดยนายจ้าง คนไทยก็ไม่ได้หยุดที่จะมองหาหางานที่ดีขึ้นให้กับตนเองแต่อย่างไร โดยผลสรุปที่ได้จากการศึกษาเป็นดังนี้

    …เพื่อมองหาชีวิตที่ดีขึ้น

    แม้วิกฤตการณ์ทางการเงินและเศรษฐกิจจะปะทุขึ้นในปีที่ผ่านมาจากผลพวงของโควิด คนไทยทุก ๆ 17 คน ยังคงเปลี่ยนงานตามความต้องการของตนเอง และประมาณ 84% ของประชากรกลุ่มสำรวจวางแผนที่จะเปลี่ยนบริษัทในอนาคตอันใกล้นี้

    เรียน “ในสิ่งที่รัก”

    ความสนใจส่วนตัว และความสัมพันธ์กับสายงาน เป็นปัจจัยหลักในการเลือกขอบเขตของการศึกษาของคนไทย จากผลสำรวจ 49% ของผู้ถูกสัมภาษณ์เลือก “เรียนเพราะมีความสนใจในด้านนั้น”, 24% คาดหวังโอกาสในการสมัครงานที่สนใจ, 20% เลือกศึกษาตามความชอบและถนัดของตนเอง และมีเพียง 17% เท่านั้นที่ยึดเอาเงินเดือนที่สูงเป็นตัวกำหนดการเลือกเรียน

    • Faizan Ahmed หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการของ ANCOR Thailand กล่าวว่า "วันนี้เราอยู่ในยุคที่การเลือกงานเปลี่ยนไปจากเดิม ปัจจัยทางด้านจารีตและวัฒนธรรมการจ้างงานตามเพศในบางตำแหน่งนั้นไม่มีอีกแล้ว รวมถึงพื้นฐานทางครอบครัวที่เคยมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้หายไปเช่นกัน ผมเชื่อว่าผู้สมัครงานในปัจจุบันมีความตระหนักในศักยภาพของตนเองมากขึ้น รวมถึงมองหาบริษัทและบทบาทที่เหมาะสมกับความใฝ่ฝันและอนาคตของตัวเองมากที่สุด ตอกย้ำผลของการศึกษาในครั้งนี้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งประชากรกลุ่มสำรวจส่วนใหญ่ระบุว่าการเลือกงานและนายจ้างนั้น เกิดขึ้นจากความสนใจส่วนตัวของพวกเขาเองในสายงานนั้น ๆ สอดคล้องกับโลกในอนาคตซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล ที่ซึ่งองค์กรและงานต่าง ๆ นั้นต้องการคนที่มีประสิทธิภาพ และคล่องตัวในระดับที่สูงขึ้น

    83% ของผู้ถูกสัมภาษณ์เชื่อว่างานและความชอบส่วนตัวควรเชื่อมโยงกัน และมีเพียง 16% เท่านั้นที่บอกว่าไม่จำเป็น แต่ก็เป็นเรื่องที่ดีหากพนักงานสามารถ “ตระหนักถึงศักยภาพในการทำงาน" ของตนเองได้ นายจ้างหรือบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ในปัจจุบันได้เริ่มนำเสนอทางเลือกต่าง ๆ ให้กับพนักงานเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถค้นหาตนเองได้ในระยะยาว ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหางานที่ทำโดยตรง แต่เพื่อเป็นการหาสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work-life Balance) การที่พนักงานมีความเข้าใจในตนเองในทางทฤษฎีแล้วไม่ควรจะต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่องของงาน แต่เป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเขาและบริษัทให้ดีขึ้นได้ในภาพรวม

    ...ทำงานเพื่อเงิน

    แต่ในทางปฏิบัติ “การทำตามหัวใจ” ไม่ใช่คำตอบเสมอไป กลุ่มประชากรสำรวจส่วนใหญ่ราว 48% คาดหวังที่จะได้ทำงานเฉพาะด้านที่เรียนมาในอนาคต ในขณะเดียวกันมีเพียง 38% เท่านั้นที่สามารถทำได้จริง โดยการเลือกมองหางานนั้น 62% ของผู้สมัครสนใจที่ปริมาณเงินเดือน, 42% มองเรื่องของการเติบโตในสายงาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่คำนึงถึงการทำงานที่ได้ค้นหาและรู้จักตนเองมากยิ่งขึ้น

    • Faizan Ahmed หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการของ ANCOR Thailand  ให้ความเห็นว่า "นี่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ เพราะหากศึกษาผลวิจัยส่วนใหญ่จากทั่วโลก จะพบว่าเหตุผลหลักในการหางานใหม่นั้นมักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับหัวหน้างาน วิธีการทำงานภายในองค์กร และตัวเพื่อนร่วมทีมของพนักงานเอง แต่จากผลการศึกษาของ ANCOR ในไทย กลับพบว่าเรื่องของค่าตอบแทนนั้นเป็นเหตุจูงใจหลักในการหางานถึง 62% รองลงมาคือความก้าวหน้าในสายงาน และ ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) ตามลำดับ แต่ถึงแม้ว่าผลที่ออกมาจะระบุชัดเจนว่าเหตุผลหลักเป็นเรื่องของค่าตอบแทน แท้ที่จริงแล้วในการย้ายงานของคนมักมีจะมีปัจจัยแฝงเสมอ ว่าทำไมพวกเขาถึงมองหางานใหม่ อาทิเช่น เหตุผลทางด้านการมีส่วนร่วมของพนักงานในบริษัท ค่านิยม และวัฒนธรรมขององค์กร ฯลฯ

    • เกรียงจิตร์ เลิศสิทธิกุล หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลประจำประเทศไทย บริษัท Accenture ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีและธุรกิจระดับโลก  เห็นด้วยกับเหตุผลในเรื่องค่าตอบแทนที่เป็นสาเหตุหลักของการมองหางานใหม่ แต่ก็คิดว่ายังมีปัจจัยแฝงอื่น ๆ อาทิ เรื่องการศึกษาต่อ ความก้าวหน้าในสายงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นสาเหตุร่วม จริง ๆ แล้วสิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันเสริม เพราะพนักงานจะไม่มองหาเงินที่มากขึ้น หากพวกคนพอใจกับงานปัจจุบันที่ทำ  โดยได้รับค่าจ้างอย่างเหมาะสม และมีโอกาสในการเติบโตในสายงานระยะยาว เงินเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจจากภายนอก แต่ทั้งนี้ก็อาจเป็นในเรื่องของโอกาสทางการเรียนรู้ และความก้าวหน้าในสายงาน ผู้สมัครงานในปัจจุบันมองหางานที่จะสามารถช่วยพัฒนาตนเองได้ในขอบเขตใหม่ ๆ จะเป็นเรื่องที่ดีหากบริษัทสามารถเพิ่มสิ่งเหล่านี้ให้กับพนักงานได้ แทนที่จะไปโฟกัสไว้ทีตัวเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันในโลกของการทำงานในเมือง คนอาศัยในครอบครัวที่มีขนาดเล็กลง หรืออยู่ตัวคนเดียว คนรุ่นใหม่มองหาสิ่งตอบแทนในระยะสั้น เรื่องของบำนาญหรือสวัสดิการนั้นจึงไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการเลือกที่จะอยู่กับบริษัท ปัจจุบันคนรุ่นใหม่มองที่ตัวเงินต่อเดือน มากกว่าเรื่องของบำนาญระยะยาว รวมไปถึงอีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองและมีความต้องการสูงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก็คือ เรื่องของ Well-being หรือสุขภาวะ สภาพจิตใจ และการมีส่วนร่วมของตัวพนักงานต่อองค์กรก็เป็นปัจจัยใหม่ที่ทำให้คนมองหางานในยุคนี้

    • Vishaal Sharma  หัวหน้าแผนกบุคคลประจำภูมิภาค South East Asia ของ บริษัท Aditya Birla Chemicals ธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์ชั้นนำ ให้ความเห็นว่า เมื่อคนย้ายงานใหม่ แน่นอนว่าเงินเดือนจึงสูงขึ้น แต่แท้จริงแล้วมีปัจจัยเสริมนอกเหนือไปจากเรื่องค่าตอบแทนเสมอ ฝ่ายบุคคลอาจไปโฟกัสที่เรื่องของตัวเงินซึ่งเป็นคำตอบของพนักงาน แต่จริง ๆ แล้วเรื่องทีต้องใส่ใจนั้นคือปัจจัยแอบแฝงต่าง ๆ ว่ามีอะไรบ้าง ในบริษัทของผม การสัมภาษณ์เมื่อลาออก หรือ Exit Interview นั้น จะทำเมื่อผ่านไปแล้ว 6 เดือน ซึ่งนั่นเป็นเวลาที่กำลังเหมาะสมที่จะได้ฟังเหตุผลที่แท้จริงจากปากของพนักงานโดยปราศจากความกลัวต่อผู้บังคับบัญชาในสายงาน หรือสภาพแวดล้อมในการทำงานเดิม

    คนรุ่นใหม่ “พร้อมเรียนรู้”

    ความคิดที่ว่าการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถทำได้ตลอดชีวิตนั้นค่อย ๆ หยั่งรากลึกลงในความคิดของคนวัยทำงานยุคปัจจุบัน โดย 21% ของผู้เข้าร่วมสำรวจได้ทำการศึกษาต่อตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน, 39% วางแผนที่จะศึกษาในอนาคตอันใกล้, และ 28% กำลังศึกษาอิสระเพิ่มเติมด้วยตนเอง

    • Faizan Ahmed หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการของ ANCOR Thailand  ตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาและการเพิ่มพูนทักษะใหม่ ๆ นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งองค์กรและพนักงานต่างสนใจ ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นในยุคปัจจุบันที่พนักงานจะต้องพัฒนาชุดทักษะเพิ่มเติม และอัพเกรดทักษะเดิมที่มีอยู่ รวมถึงการหาความรู้ให้กับตัวเองอย่างต่อเนื่องในแขนงต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบันและโอกาสในอนาคต นอกจากนี้ การระบาดของโควิดยังถือเป็นอีกตัวขับเคลื่อนสำคัญในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ธุรกิจต่าง ๆ ต้องกลับมาทบทวนรูปแบบการดำเนินกิจการในปัจจุบันของตนใหม่ และพัฒนาให้มีความคล่องตัวและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้โดยไม่ถูกสิ่งแวดล้อมภายนอกมากระทบ สาเหตุนี้ยังเป็นตัวผลักดันให้พนักงานพัฒนาไปด้วยเช่นเดียวกัน พวกเขารู้สึกถึงความจำเป็นที่จะต้องมีทักษะและวุฒิใหม่ ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และสามารถทำงานในองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาต่อไปได้

    • เกรียงจิตร์ เลิศสิทธิกุล ให้ความเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่สำคัญที่องค์กรจะต้องมุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจว่าพนักงานของตนนั้นได้รับทักษะที่เหมาะสมในการทำงาน ผ่านโอกาสในการเรียนรู้เพิ่มเติมต่าง ๆ รวมถึงร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการช่วยเหลือทางด้านหลักสูตรหรือแนวทางการเรียนการสอน รวมถึงมอบหมายงานให้กับพนักงานตามทักษะและความชำนาญเฉพาะบุคคล บริษัทต้องมีระบบการหมุนเวียนเปลี่ยนงาน (Job-rotation) ที่ดี ซึ่งเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการผลักดันให้พนักงานไปถึงขีดศักยภาพสูงสุดของตนเอง บริษัทต้องมีการประเมินการทำงานที่เหมาะสม กระบวนการปฐมนิเทศ ความก้าวหน้าในสายอาชีพให้แก่พนักงานทุกคน ทั้งหมดนี้ต้องบูรณาการร่วมกัน โดยหาแนวทางที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละบุคคล

    • Vishaal Sharma  กล่าวปิดท้ายว่า สิ่งหนึ่งที่กำลังปฏิวัติรูปแบบการคัดสรรคนเข้าทำงานในประเทศไทยไปอย่างสิ้นเชิง คือ ทักษะพิเศษใหม่ ๆ นั้นทำให้วุฒิการศึกษาอาจเกินความจำเป็นในปัจจุบัน ในอดีตหากเขาเลือกรับคนจากมหาลัยรัฐบาลระดับท็อปแห่งหนึ่ง เขาจะมั่นใจได้ทันทีว่าผู้สมัครคนนั้นจะสามารถทำงานในองค์กรของเขาได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ในปัจจุบัน หากมีผู้สมัครหนึ่งคนมาจากสถาบันที่ไม่ได้มีชื่อเสียง แต่เขาบอกกับนายจ้างว่า สามารถทำโปรแกรมมิ่ง หรือเขียนภาษาคอมพิวเตอร์อย่าง Python  ได้เหมือนเด็กที่จบจากสถาบันชื่อดัง หรือทำได้มากกว่า วุฒิการศึกษาจากสถาบันนั้นจึงไม่ใช่กุญแจไขประตูแห่งโอกาสให้แก่คุณอีกต่อไป แต่เป็นชุดทักษะความสามารถที่หลากหลายต่างหากที่จะช่วยคุณได้ในโลกยุคปัจจุบัน
    สามารถอ่านผลการศึกษาได้ที่นี่


    ANCOR Corporate Websites
    Загрузка...
    Хочу в ANCOR!
    Загрузка...
    Заявка на услугу
    Загрузка...
    Оставить отзыв о работе консультанта
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...