วิธีการสร้างเรซูเม่: โครงสร้างและคำแนะนำในการสร้างประวัติย่อส่วนบุคคล
    To articles list

    วิธีการสร้างเรซูเม่: โครงสร้างและคำแนะนำในการสร้างประวัติย่อส่วนบุคคล

    วิธีการสร้างเรซูเม่: โครงสร้างและคำแนะนำในการสร้างประวัติย่อส่วนบุคคล
    เรซูเม่หรือประวัติย่อส่วนบุคคล คือ ประสบการณ์การทำงานที่สำคัญที่สุดสำหรับนายจ้าง ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ทำการว่าจ้างโดยคัดเลือกจากทักษะทางวิชาชีพและความรู้ของผู้สมัคงานดังกล่าว รู้ไหมว่าผู้ปรึกษาในด้านการสรรหาบุคลากรนั้น ใช้เวลาประมาณแค่ 30 วินาทีในการดำเนินการต่อเรซูเม่หนึ่งแผ่น?

    นี้คือเหตุผลว่าทำไมการทำเรซูเม่จึงสำคัญมาก:
    • ต้องชัดเจน
    • ต้องเสร็จสมบูรณ์
    • ต้องมีโครงสร้าง
    โครงสร้างเรซูเม่ที่ถูกต้อง:
    แนะนำให้จัดรูปแบบการจัดหน้าเรซูเม่คือไม่เกิน 2-3 หน้า

    เรซูเม่จะต้องมีรายละเอียดดังนี้:
    • ข้อมูลการติดต่อ: ชื่อและนามสกุลที่อยู่ (เมือง) โทรศัพท์และอีเมล
    • ประสบการณ์การทำงาน: ชื่อและประเภทของบริษัทที่ทำงาน ช่วงเวลาที่ทำงานให้กับบริษัท (เดือนและปี) ตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำเร็จ
    • วุฒิการศึกษา: ชื่อสถานศึกษา ระยะเวลาการศึกษาการ การศึกษาเพิ่มเติม (การฝึกอบรม หลักสูตรเสริมทักษะ การฝึกงาน)
    • ทักษะทางวิชาชีพ: ความรู้ภาษาต่างประเทศ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์รวมถึงโปรแกรม และ อุปกรณ์พิเศษ สถานะใบขับขี่
    รายละเอียดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในเรซูเม่ของคุณ:
    • ให้ลบชื่อเรื่องคำว่า “ เรซูเม่”,“ CV” ฯลฯ (จากหน้าเอกสารก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าคุณหมายถึงอะไร) แต่จำเป็นต้องใส่ไว้ในชื่อไฟล์
    • บทบาทการนำเสนอในการสมัครงานกับนายจ้าง อาจขึ้นอยู่กับความสนใจในเฉพาะสถานทำงานแค่ 3-5 แห่งสุดท้ายเท่านั้น และในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี แต่ให้ระบุหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องว่าบทบาทที่สมัครเหมาะกับบริษัทหรือไม่
    • ข้อมูลทางกายภาพ และ สภาวะสุขภาพของคุณ
    • หากต้องการมีรูปภาพเข้าไปในนั้นควรเป็นภาพถ่ายที่เป็นทางการเท่านั้น พยายามอย่าให้รูปมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือเป็นรูปภาพในการเที่ยว  ฯลฯ
    • คำอธิบายในเรื่องของโครงการที่ทำไม่สำเร็จ
    • เหตุผลที่คุณลาออกจากงานก่อนหน้านี้ ซึ่งมักจะกล่าวถึงในระหว่างการสัมภาษณ์อยู่แล้ว
    • จดหมายรับรองงาน เอกสารนี้สามารถใช้ได้ตามคำขอ
    ตรวจสอบเรซูเม่ของคุณเพื่อความสมบูรณ์แบบ
    • ให้ถามผู้ที่รู้ภาษาเพื่อพิสูจน์ตัวอักษรที่ใช้เขียนเรซูเม่
    • ทำการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดว่าอยู่ในลำดับที่ถูกต้องไหมและอยู่ในรูปแบบเดียวกันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากใช้อักษรคำย่อให้ใช้เป็นรูปแบบเดียวกันในเรซูเม่ทั้งหมด (ดีกว่าที่จะหลีกเลี่ยงคำย่อและใช้คำเต็ม)
    • พยายามหลีกเลี่ยงวลีที่ยาวเกินไปคำที่ซับซ้อนและไม่ชัดเจนหรือคำย่อ
    • เลือกรูปแบบในการอ่านที่สะดวก: ระยะขอบกว้าง แบบตัวอักษรที่ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป และ ระยะห่างการย่อหน้าให้เพียงพอ
    • ควรใช้รูปแบบไฟล์ PDF สำหรับประวัติย่อ เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับรูปแบบเมื่อถ่ายโอนไฟล์
    อีกข่าว
    ANCOR Corporate Websites
    Загрузка...
    Хочу в ANCOR!
    Загрузка...
    Заявка на услугу
    Загрузка...
    Оставить отзыв о работе консультанта
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...
    Logo ANCOR
    Загрузка...