Quiet Quitting เทรนด์การทำงานแบบใหม่
ช่วงไม่กี่เดือนมานี้หลายคนคงได้ยินคำว่า Quiet Quitting (ไควเอ็ต ควิตติ้ง) กันอย่างมากในโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok กลายเป็นคำศัพท์ใหม่ในหมู่คนทำงาน คำนี้ไม่ได้แปลว่า “การลาออกแบบเงียบๆ” แต่หมายถึงการทำงานเฉพาะตามหน้าที่ของตัวเองเท่านั้นสาเหตุที่หลายคนหันมาใช้คำว่า Quiet Quitting กันเยอะ ส่งผลมาจากช่วงหลังโควิดมานี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่วัยเริ่มทำงานได้หันมาให้ความสนใจในเรื่องส่วนตัวและสุขภาพของตนเองมากขึ้น แทนการที่จะเป็น 'Workaholic' หรือคนบ้างานแบบสมัยก่อน เป็นที่มาของ การทำงานเฉพาะตามที่เขียนไว้ใน Job Description เท่านั้น หมดความทะเยอทะยานใน Career Path เพื่อเติบโตหรือได้รับการโปรโมท ทำงานตามค่าจ้างที่ได้รับ และเอาเวลาไปใช้ชีวิตส่วนตัวในด้านอื่นๆ
ถึงแม้จะฟังดูเหมือนคนกลุ่ม Quiet Quitting นั้นไม่ยอมทุ่มเทเพื่อองค์กรสักเท่าไร แต่คำจำกัดความของคนกลุ่มนี้นั้น ยังถือว่าห่างจากคนขี้เกียจหรืออู้งานอยู่เยอะ อย่าได้นำไปรวมกัน เพราะคนกลุ่มนี้ยังมองว่ามีงานและหน้าที่ตามที่ได้ตกลงกันไว้เป็นสัญญาใจกับองค์กรต้องทำให้สำเร็จ แต่จะทำเท่าที่จำเป็นและไม่ทำไปมากกว่านั้นนั่นเอง...
เป็นเรื่องไม่ยากนักสำหรับ HR หรือบริษัทที่จะมองให้ออกว่าใครเป็น Quiet Quitting แต่ตราบใดที่คนกลุ่มนี้ยังรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเอง สิ่งที่องค์กรจะทำได้เพื่อปรับปรุงก็คือการสังเกตและใส่ใจพนักงานทุกคนให้มากขึ้น จัดเซสชั่นให้พนักงานมีโอกาสในการฟีดแบคถึงสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นหรือปรับปรุง พนักงานบางส่วนอาจจะทุ่มเทให้กับงานมากขึ้นหากพวกเขาได้รับการตอบสนองในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการทำงาน รวมไปถึงเรื่องของรายได้และค่าตอบแทนซึ่งมักจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนหมดไฟและกลายเป็น Quiet Quittingในที่สุด